Responsive image
เมนูหลัก
หน้าหลัก
เกี่ยวกับสำนักงาน
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไป
สภาพสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
การบริการพื้นฐาน
ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
โครงสร้างส่วนราชการ
บทบาทหน้าที่
บุคลากร
คณะผู้บริหาร
งานบริหารทั่วไป
กลุ่มงานมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น
กลุ่มงานกฎหมายระเบียบและเรื่องร้องทุกข์
กลุ่มงานการเงินบัญชีและการตรวจสอบ
กลุ่มงานบริการสาธารณะท้องถิ่นและประสานงานท้องถิ่นอำเภอ
ข่าวสารราชการ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครโอน/ย้าย
หนังสือราชการ สถ.จ.
คู่มือประชาชนและคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน สถจ.
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
การประเมินความเสี่ยงการทุจริต
แผนปฏิบัติการป้องการการทุจริต
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส
สถิติการรับเรื่องร้องเรียน
ผลการแก้ไขปัญหา และมาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต
ITA
ITA ปี พ.ศ. 2567
ข่าวสารเครือข่าย
ข่าวประชาสัมพันธ์เครือข่าย
ข่าวกิจกรรมเครือข่าย
ปฏิทินกิจกรรมเครือข่าย
ข่าวรับสมัครโอน/ย้ายเครือข่าย
สินค้า OTOP เครือข่าย
ระเบียบ
หนังสือสั่งการ สถ.
พรบ./พรก.
กฎระเบียบกระทรวง
คำสั่ง สถ.
มติ ก. อบจ.
มติ ก. เทศบาล
มติ ก. อบต.
ข้อบัญญัติ
รายรับรายจ่าย
รายงานการประชุม
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
แผนที่ดาวเทียม
ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
facebook สถจ.ยโสธร









หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

บริการขั้นพื้นฐาน
 

                   ไฟฟ้า  
                    จังหวัดยโสธรมี 885 หมู่บ้าน มีครัวเรือน 163,701 ครัวเรือน และข้อมูลจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดยโสธร พบว่า จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้มีจำนวน 131,789 ครัวเรือน ปัญหาครัวเรือนไม่มีไฟฟ้าใช้เนื่องจากการสร้างที่อยู่อาศัยอยู่ห่างจากระบบจำหน่ายไฟฟ้า 
                    ประปา 
                    จังหวัดยโสธรมีสำนักงานประปาภูมิภาค 4 แห่ง ได้แก่ สำนักงาน กปภ. สาขายโสธร, สำนักงาน กปภ. สาขามหาชนะชัย, สำนักงาน กปภ. สาขาเลิงนกทา, สำนักงาน กปภ. สาขาอำนาจเจริญ (หน่วยบริการป่าติ้ว)  บริการในเขตเทศบาลและบริเวณใกล้เคียงในชุมชน 6 อำเภอ คือ อำเภอเมืองยโสธร  อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา  อำเภอมหาชนะชัย อำเภอคำเขื่อนแก้ว และอำเภอป่าติ้ว  ส่วนอำเภอที่เหลือเป็นประปาของเทศบาลตำบลหรือใช้ระบบปั๊มน้ำบาดาลสำหรับในเขตชนบท  จากการสำรวจข้อมูล กชช. 2ค ปี 2556 จำนวน 885 หมู่บ้าน  ใช้ระบบประปาหมู่บ้านหรือลักษณะประปาหมู่บ้านเพื่อเป็นน้ำใช้  จำนวน 839 แห่ง  และยังไม่มีระบบประปาหมู่บ้านหรือน้ำใช้เพียงพอทุกครัวเรือน จำนวน 46 หมู่บ้าน ในจำนวนนี้อาจมีหลายแห่งไม่สามารถทำการก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้านเพิ่มเติมได้อีกเพราะมีปัญหาปริมาณน้ำหรือไม่มีคุณภาพ จะต้องจัดหาแหล่งน้ำผิวดินมาเป็นน้ำดิบต่อไป 
                       แหล่งน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตประปา 
                     - กปภ.สาขายโสธร ใช้แหล่งน้ำดิบจากแม่น้ำชี
                     - กปภ.สาขามหาชนะชัย ใช้แหล่งน้ำดิบจากแม่น้ำชี 
                     - กปภ.สาขาเลิงนกทา ใช้แหล่งน้ำดิบหลักจากลำเซบาย แหล่งน้ำสำรองคือ อ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจนและอ่างเก็บน้ำหนองแฝก 
                     - กปภ.สาขาอำนาจเจริญ (หน่วยบริการป่าติ้ว) ใช้แหล่งน้ำดิบจากลำเซบาย และสถานีผลิตน้ำหนองเรือ
พื้นที่ให้บริการ ได้แก่ อำเภอเมืองยโสธร , อำเภอเลิงนกทา , อำเภอกุดชุม, อำเภอมหาชนะชัย, อำเภอคำเขื่อนแก้ว และอำเภอป่าติ้ว
กำลังการผลิตและการให้บริการรวมทั้ง 4 แห่ง

ปี พ.ศ.
กำลังผลิตที่ใช้งาน 
(ลบ.ม./วัน)
จำนวนน้ำที่ผลิต
(ลบ.ม.)
ปริมาณน้ำผลิตจ่าย 
(ลบ.ม.)
ปริมาณน้ำที่จำหน่าย 
(ลบ.ม.)
จำนวนผู้ใช้น้ำประปา 
(ราย)
2553 18,900 6,072,738 5,667,315 4,645,106 17,144
2554 23,900 7,233,778 5,756,384 4,784,781 21,944
2555 24,475 6,472,724 6,076,916 5,233,146 19,249
2556 24,916 6,755,913 6,332,887 5,265,280 19,552
2557 25,207 7,088,035 6,234,163 5,616,199 20,269
2558 25,299 5,920,334 5,431,192 4,792,963 21,015
              ที่มา : การประปาส่วนภูมิภาคสาขายโสธร
            โทรศัพท์ จังหวัดยโสธรมีชุมสายโทรศัพท์ในทุกอำเภอ รวม 50 ชุมสาย มีหมายเลขให้เช่า 17,632 เลขหมาย มีผู้เช่า 10,180 เลขหมาย เป็นโทรศัพท์สาธารณะ 1,564 เลขหมาย นอกจากนี้ยังมีระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เครือข่าย AIS  เครือข่าย DTAC เครือข่าย TRUEMOVE เครือข่าย TRUEMOVE-H  และเครือข่ายmy ครอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นิยมใช้ 
ที่ พ.ศ. ชุมสายโทรศัพท์ 
(ชุมสาย)
จำนวนเลขหมายที่ให้บริการ (เลขหมาย) เลขหมายที่มีผู้เช่า
(เลขหมาย)
จำนวนผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต 
ADSL (ราย)
1 2552 43 17,440 13,104 2,972
2 2553 43 17,872 13,104 4,782
3 2554 51 17,872 13,185 5,847
4 2555 51 17,872 12,989 6,627
5 2556 51 17,872 12,989 6,627
6 2557 50 17,632 11,847 5,611
7 2558 50 17,632 10,772 5,942
8 2559 50 17,632 10,180 6,220
              ที่มา : บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)สาขายโสธร
                     การคมนาคมขนส่ง
                     การเดินทางมายังจังหวัดยโสธร มีถนนสายสำคัญ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23, 202 และทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2083, 2169, 2043 โดยเส้นทางการเดินทางมี 2 เส้นทาง คือ สายเก่า: กรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา-บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-ยโสธร และสายใหม่: กรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา- ประทาย-พยัคฆ์ภูมิ-เกษตรวิสัย-สุวรรณภูมิ-ยโสธรโดยสามารถเดินทางได้ดังนี้
              รถยนต์ : ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรีจึงเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมาไปทางอำเภอพิมาย ผ่านอำเภอหนองสองห้องและอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แล้วจึงแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี อำเภอเสลภูมิ แล้วจึงถึงจังหวัดยโสธร รวมระยะทาง 531 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7-8 ชั่วโมง 
              ทางรถไฟหรือเครื่องบิน : จะต้องลงที่จังหวัดอุบลราชธานี แล้วต่อรถยนต์มาที่จังหวัดยโสธร อีกประมาณ 99 กิโลเมตร และในอนาคตระยะต่อไปจังหวัดยโสธรจะมีทางรถไฟผ่านพื้นที่อำเภอเลิงนกทา และการพัฒนาและผลักดันให้สนามบินเลิงนกทาเป็นสนามบินพาณิชย์ 
                    จังหวัดยโสธรมีเส้นทางคมนาคมเข้าถึงทุกหมู่บ้านโดยเส้นทางถนนเป็นทางหลวงแผ่นดิน  10 สาย ระยะทางรวม 204.072 กิโลเมตร เป็นทางหลวงท้องถิ่น 245 สาย ระยะทาง 898 กิโลเมตร   ผิวจราจรส่วนใหญ่เป็นทางลูกรัง และเป็นทางหลวงชนบท 32 สาย รวมระยะทาง 610.023 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง 582.075 กิโลเมตร และคอนกรีต 27.948 กิโลเมตร  มีเส้นทางสายหลักที่ใช้เป็นทางเลี่ยง ทางลัด ทางเชื่อมไปสู่แหล่งท่องเที่ยว แหล่งขนส่งสินค้าทั้งในจังหวัด และจังหวัดใกล้เคียง ทั้งหมด 9 สายทาง ได้แก่ 
                         1)  ยส.2002 แยกทางหลวงหมายเลข 23 – บ้านนิคม อ.คำเขื่อนแก้ว,ป่าติ้ว เป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ 
                         2)  ยส.3003 แยกทางหลวงหมายเลข 202 – บ้านสวาท อ.ป่าติ้ว,ไทยเจริญ,เลิงนกทา เป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังจังหวัดอำนาจเจริญ มุกดาหาร        
                         3)  ยส.2005 แยกทางหลวงหมายเลข 23 – บ้านเชียงเพ็ง อ.คำเขื่อนแก้ว,ป่าติ้ว เป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ 
                         4)  ยส.3009 แยกทางหลวงหมายเลข 212 – บ้านคำเตย อ.ไทยเจริญ,เลิงนกทา เป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังจังหวัดมุกดาหาร 
                         5)  ยส.4010 แยกทางหลวงหมายเลข 2083 – บ้านหัวดอน อ.มหาชนะชัย  เป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ 
                         6)  ยส.2015 แยกทางหลวงหมายเลข 23 – บ้านปอแดง อ.คำเขื่อนแก้ว,มหาชนะชัย เป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด 
                         7)  ยส.3017 แยกทางหลวงหมายเลข 202 – บ้านกุดชุม อ.ป่าติ้ว,กุดชุม  เป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังจังหวัดมุกดาหาร 
                         8)  ยส.3018 แยกทางหลวงหมายเลข 292 – บ้านโสกน้ำขาว อ.เมือง,ทรายมูล,กุดชุม  เป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังจังหวัดร้อยเอ็ด มุกดาหาร 
                         9)  ยส.2022 แยกทางหลวงหมายเลข 23 – บ้านทรายมูล อ.เมือง,ทรายมูล เป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังจังหวัดร้อยเอ็ด มุกดาหาร
      จังหวัดยโสธรมีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดยโสธร 1 แห่ง มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้สถานี จำนวน 22 เส้นทาง เฉลี่ยวันละ 200 เที่ยว มีผู้โดยสาร เฉลี่ยวันละประมาณ 700-1,000 คน (ข้อมูล ณ 1 กรกฎาคม 2559) มีเส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร ดังนี้ 
                         1) เส้นทางภายในเขตเมืองและเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน 1 เส้นทาง คือ บ้านตาดทอง-บ้านบาก 
                         2) เส้นทางเริ่มต้นจากกรุงเทพฯ ไปยังส่วนภูมิภาค จำนวน 6 เส้นทาง 
                         3) เส้นทางระหว่างจังหวัดหรือคาบเกี่ยวระหว่างเขตจังหวัดในส่วนภูมิภาค จำนวน 15 เส้นทาง 
                         4) เส้นทางในเขตจังหวัด ซึ่งอาจจะประกอบด้วยเส้นทางสายหลักสายเดียว หรือเส้นทางสายหลักและเส้นทางสายย่อยซึ่งแยกออกจากเส้นทางสายหลักไปยังอำเภอ หมู่บ้าน หรือเขตชุมชน จำนวน  7 เส้นทาง  นอกจากนี้ มีวินจักรยานยนต์รับจ้างในเขตอำเภอเมืองยโสธร จำนวน 10 วิน 
           การสื่อสารคมนาคม
                 1) ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 9 แห่งตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองยโสธร 1 แห่ง อำเภอคำเขื่อนแก้ว  2 แห่ง และอำเภอที่เหลืออำเภอละ 1 แห่ง ยกเว้นอำเภอไทยเจริญ โดยมีบริการที่ให้บริการในปัจจุบัน ได้แก่ บริการรับฝาก-ส่งต่อ-นำจ่าย ไปรษณียภัณฑ์ธรรมดาและประเภทมีหลักฐาน (ลงทะเบียน) และพัสดุไปรษณีย์, บริการรับฝากสิ่งของส่งทางไปรษณีย์แบบด่วนพิเศษ EMS ส่งสิ่งของขนาดใหญ่ Logispost ทั้งในและต่างประเทศ, บริการการเงินในประเทศ ได้แก่ ธนาณัติธรรมดาและออนไลน์, บริการการเงินระหว่างประเทศ ได้แก่ Western Union, บริการรับชำระค่าบริการสาธารณูปโภค และรับชำระค่าบริการอื่น ๆ ตามใบแจ้งหนี้ และจำหน่ายสินค้าไปรษณีย์ทั่วไปและสินค้าฝากขายของภาคเอกชน
                2) สถานีวิทยุกระจายเสียง จำนวน 5 แห่ง  และมีสถานีวิทยุชุมชนกระจายอยู่ในตำบล หมู่บ้าน  จำนวน 59 แห่ง 
                3) หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น จำนวน 3 แห่ง มีหนังสือพิมพ์เสียงมวลชนยโสธร, หนังสือพิมพ์ เอส วีไอพี, หนังสือพิมพ์ โมเดรินไทมน์นิวส์,  มีผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ส่วนกลาง จำนวน 7 คน ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ทุกช่องประจำจังหวัด จำนวน 8 คน สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม จำนวน 1 แห่ง และสถานีเคเบิ้ลทีวี จำนวน 1 แห่ง 
                4) จังหวัดยโสธรได้จัดทำเว็บไซต์ (website) เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลของจังหวัด  ได้แก่ เว็บไซต์จังหวัดยโสธร (www.yasothon.go.th) สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดยโสธร (www.prd.go.th/yasothon) เว็บไซต์ท่องเที่ยวจังหวัดยโสธร (www.visityasothon.com) และเฟสบุ๊คจังหวัดยโสธร (www.facebook.com/j.yasothon/) และประสานติดต่อข่าวสารราชการกับจังหวัดยโสธรได้ที่ E–Mail : yasothon@moi.go.th หรือสำนักงานจังหวัดยโสธร  โทร./โทรสาร 0 4571 4212,  0 4571 2722, 0 4571 5523 (มท.)  43523, 43529, 43522, 43521


สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดยโสธร
ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดยโสธร(หลังใหม่) อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร รหัสไปรษณีย์ 35000
โทรศัพท์ : 0-4571-3035, 0-4571-5343  โทรสาร : 0-4571-3035 ต่อ 13,17
อีเมล์ :
 admin@yasothonlocal.go.th , mymail7848@gmail.com
Powered By 
yasothonlocal.go.th